LRU poster2024 บทความวิจัย-วิทยานิพนธ์
LRU poster2024 บทความวิชาการ
ประชาสัมพันธ์
-
ดาวน์โหลดเกียรติบัตร28 มีนาคม 2567 11:38:57
-
เล่มกำหนดการ15 มีนาคม 2567 09:04:53
-
LRU poster2024 บทความวิจัย-วิทยานิพนธ์ (Template)26 ธันวาคม 2566 10:48:30
-
LRU poster2024 บทความวิชาการ (Template)26 ธันวาคม 2566 10:48:18
-
แบบฟอร์มชี้แจงการแก้ไขบทความวิจัย/วิทยานิพนธ์12 ธันวาคม 2566 15:01:12
-
แบบฟอร์มชี้แจงการแก้ไขบทความวิชาการ12 ธันวาคม 2566 15:00:48
-
LRU รูปแบบบทความวิจัย-วิทยานิพนธ์ 2567 (WORD)1 ธันวาคม 2566 16:23:25
-
LRU รูปแบบบทความวิจัย-วิทยานิพนธ์ 2567 (PDF)1 ธันวาคม 2566 16:23:09
-
LRU รูปแบบบทความวิชาการ 2567 (WORD)1 ธันวาคม 2566 16:22:50
-
LRU รูปแบบบทความวิชาการ 2567 (PDF)1 ธันวาคม 2566 16:22:36
LINE OPEN CHAT
เข้าร่วม LINE OPEN CHATลำดับ | กิจกรรม | กำหนดเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | Call for paper | ปัจจุบัน – 5 มกราคม 2567 | เลื่อนเป็น 15 มกราคม 2567 |
2 | วันสุดท้ายการชำระค่าลงทะเบียน | ปัจจุบัน – 5 มกราคม 2567 | เลื่อนเป็น 15 มกราคม 2567 |
3 | ประกาศผลพิจารณา | 2 กุมภาพันธ์ 2567 | เลื่อนเป็น 9 กุมภาพันธ์ 2567 |
4 | ปิดรับผลงานฉบับแก้ไข | 20 กุมภาพันธ์ 2567 | |
5 | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน | ปัจจุบัน – 23 กุมภาพันธ์ 2567 | |
6 | ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด | 1 มีนาคม 2567 | |
7 | นำเสนอผลงาน | 22 มีนาคม 2567 | |
8 | เผยแพร่ Proceeding | เมษายน 2567 เป็นต้นไป |
หลักการและเหตุผล
จากกระแสนโยบายรัฐบาลในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ Soft Power ของไทย หรือ
“พลังละมุน” ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ฐานทรัพยากรทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นของประเทศ
เพื่อให้เกิดพลังในการดึงดูด โน้มน้าวใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความคิดและพฤติกรรม
ให้เกิดความสนใจ และต้องการครอบครองหรือทำตามอย่างที่ผู้สร้างอิทธิพลด้วยพลังทุนวัฒนธรรมนั้นๆ
ต้องการให้เป็นไป จนสามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ในมิติเศรษฐกิจที่มูลค่าสูงได้
ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งหน่วยงาน Thailand Creative Content Agency
ที่จะมาดูแลส่งเสริมทุนวัฒนธรรมใน 8 ด้าน ได้แก่ อาหาร ดนตรี ภาพยนตร์ หนังสือ ศิลปะ
การออกแบบ/แฟชั่น กีฬา และการท่องเที่ยว
หัวใจสำคัญในการสร้างพลังละมุน หรือ Soft Power
ของไทยให้สามารถมีอิทธิพลต่อคนที่ต่างวัฒนธรรมกันได้
จึงจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลทุนวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในทุกภูมิภาคของประเทศ ในทุกๆ ด้าน ทุกๆ มิติ
ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์จุดเด่นที่มีศักยภาพ
และบูรณาการความรู้ต่างๆ สู่การสร้างสรรค์คุณค่าที่เป็นสากล
ผ่านการใช้สื่อสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ
ที่จะสามารถโน้มน้าวใจจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมได้
การวิจัย เพื่อการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเป็นเครื่องมือ
ที่บุคลากรทางการศึกษาในทุกระดับ จะสามารถมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อน และผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่น
ภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถมีข้อมูล และชุดความรู้ ไปสู่การพัฒนาพลังละมุน หรือ Soft Power
ของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การกระจายรายได้
และลดความเหลื่อมล้ำในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายและสมาคมวิชาชีพ ได้แก่ คุรุสภา
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ
ครั้งที่ 10 ประจำปี 2567 ขึ้น ภายใต้ชื่อ “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา Soft Power
ท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์ระดับสากล” หรือ Research and Innovation to Develop Local Soft Power
for Global Value Conference 2024 ขึ้น
เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิชาการโดยแบ่งกลุ่มนำเสนอผลงานออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1)
กลุ่มครุศาสตร์ 2) กลุ่มมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์ 3) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4)
กลุ่มบริหารธุรกิจ บริการ และการท่องเที่ยว และ 5) กลุ่มวิศวกรรม และอุตสาหกรรม
โดยรูปแบบการนำเสนอผลงาน แบ่งเป็น ภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster
Presentation) ซึ่งผู้นำเสนอผลงานและผู้เข้าร่วมประชุม
จะได้ใช้เวทีนี้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และต่อยอดงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต
นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ
2. เพื่อเป็นการสนับสนุนการบูรณาการผลงานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาชุมชน สังคม
และประเทศชาติ
3. เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายทางวิชาการ
เป้าหมายโครงการ
คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษาบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลา
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567
สถานที่จัดประชุมวิชาการ
รูปแบบ Teleconference ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Google Meet
รูปแบบการประชุม
1. การบรรยายพิเศษ
2. การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย (Oral Presentation)
3. การนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
4. การคัดเลือกบทความดีเด่น (Best paper)
5. การจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
ลักษณะของผลงานและการแบ่งกลุ่มงานที่จะนำเสนอ
การนำเสนอผลงานวิชาการมี 2 รูปแบบ
1. การนำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation)
ใช้เวลาในการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 20 นาที (รวมซักถาม 5 นาที) รูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม
(Full Paper) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://conference.lru.ac.th/
2. การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) กว้าง 80 ซม. X สูง 120 ซม.
โดยจัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนดและเข้าร่วมนำเสนอผลงานในวันประชุมวิชาการในรูปแบบออนไลน์
ระยะเวลานำเสนอไม่เกิน 5 นาที (รวมซักถามไม่เกิน 10 นาที)
โดยสามารถดาวน์โหลด template ของโปสเตอร์ได้ที่ https://conference.lru.ac.th/
การจัดทำโปสเตอร์ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
1) ชื่อเรื่อง ภาษาไทย (จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ)
2) ชื่อผู้วิจัย ภาษาไทย (จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ)
3) บทนำ
4) วัตถุประสงค์
5) วิธีดำเนินการวิจัย
6) ผลการวิจัย
7) ข้อเสนอแนะ
8) เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่อ้างอิงในโปสเตอร์นี้)
* โดยผลงานวิชาการข้างต้นจะต้อง
1. เป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้
1) กลุ่มมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์
2) กลุ่มครุศาสตร์
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) กลุ่มบริหารธุรกิจ การบริการ และการท่องเที่ยว
5) กลุ่มวิศวกรรม และอุตสาหกรรม
การเตรียมบทความวิจัย/วิทยานิพนธ์
ความยาวไม่เกิน 7-12 หน้า ชนิดอักษร TH Saraban New หรือ TH Saraban PSK โดยใช้ขนาดตัวอักษร 14
ปกติ ประกอบหัวข้อ
(1) ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(2) ชื่อผู้เขียน
(3) บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ
(4) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และ Keywords
(5) ความเป็นมาของปัญหา
(6) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
(7) วิธีดําเนินการวิจัย
(8) ผลการวิจัย
(9) อภิปรายผล
(10) สรุปผลการวิจัย
(11) ข้อเสนอแนะ
(12) เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่อ้างอิงในบทความนี้)
การเตรียมบทความวิชาการ
ความยาวไม่เกิน 7-12 หน้า ชนิดอักษร TH Saraban New หรือ TH SarabanPSK
โดยใช้ขนาดตัวอักษร 14 ปกติ ประกอบหัวข้อ
(1) ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(2) ชื่อผู้เขียน
(3) บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ
(4) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และ Keywords
(5) บทนำ
(6) เนื้อหา
(7) บทสรุป
(8) เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่อ้างอิงในในบทความนี้)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต
นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ
2. ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ ได้รับการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และสามารถนำไปต่อยอดทั้งในเชิงวิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม
3. อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานทางวิชาการ
4. เกิดเครือข่ายนักวิจัยในระดับชาติ
การจัดเตรียมบทความฉบับเต็ม (Full Paper)
1. การส่งต้นฉบับ ผู้นำเสนอจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์นามสกุล
“.doc” (MS Word) และ “.pdf” (PDF) ทางเว็บไซต์ https://conference.lru.ac.th/ ดังต่อไปนี้
1.1 ไฟล์บทความฉบับเต็ม (MS Word)
1.2 ไฟล์บทความฉบับเต็มที่ไม่ระบุชื่อสกุลและหน่วยงานที่สังกัดของผู้แต่ง (PDF)
(เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ)
2. ผู้นำเสนอผลงาน สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ได้ที่
https://conference.lru.ac.th/
การพิจารณาผลงาน
1. พิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอผลงานและประเภทของการนำเสนอผลงาน
2. พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน
และประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด
3. พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุม
และที่จะรวบรวมเป็นรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ Proceedings
4. พิจารณามอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือกบทความระดับดีเด่น
โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประเมินผลงานที่นำเสนอทั้งภาคบรรยาย (Oral Presentation)
และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
5. พิจารณาคัดเลือกบทความระดับดีเด่นเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (TCI2) และวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (TCI2)
การตีพิมพ์รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings) และเกียรติบัตร
1. ผลงานที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ทุกผลงานจะต้องผ่านกระบวนการร่วมนำเสนอในงานประชุมวิชาการ
หากผู้นำเสนอผลงานไม่ส่งคลิปนำเสนอและไม่เข้าร่วมกระบวนการในการนำเสนอผลงาน
บทความของท่านจะไม่ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้
2. บทความที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding)
ทางผู้จัดการประชุมจะดำเนินการขอรหัสตัวระบุวัตถุดิจิตอล (DOI) ทุกบทความ
หากเจ้าของบทความไม่ประสงค์ให้มีเลขที่ DOI ให้แจ้งมายังผู้จัดการประชุม
3. สำหรับผู้เข้าร่วมการนำเสนอผลงานทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรการนำเสนอผลงาน
ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ผ่านทาง https://conference.lru.ac.th/ ภายในช่วงเดือนเมษายน 2567
เป็นต้นไป